Home supplement-trend special-weightloss หรือจุดจบของธุรกิจยาลดน้ำหนักจะมาถึงแล้วจริงๆ?

หรือจุดจบของธุรกิจยาลดน้ำหนักจะมาถึงแล้วจริงๆ?

0
หรือจุดจบของธุรกิจยาลดน้ำหนักจะมาถึงแล้วจริงๆ?

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นยุครุ่งเรืองมากสำหรับสินค้าในหมวดธุรกิจสุขภาพและ ความงาม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักและยาลดความอ้วน ที่เป็นหนึ่งในหัวหอกสำคัญสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับหลาย ๆ แบรนด์ จนทำให้เจ้าของแบรนด์สามารถตั้งตัวและเติบโตได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น แต่ในปีนี้บรรยากาศของธุรกิจผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักนั้นกลับแตกต่างออกไปจากหลายปีที่ผ่านๆมา เพราะดูเหมือนว่าอัตราการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของผู้บริโภคในปีนี้จะชะลอตัวลงจนน่าตกใจ อีกทั้งจำนวนของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมายังลดลงเกินครึ่งอีกด้วย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณและตัวบ่งชี้ว่าตลาดผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักนั้นกำลังซบเซาลงอย่างหนักแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หรือว่านี่จะเป็นจุดจบของธุรกิจอาหารเสริมน้ำหนักในประเทศไทยกัน วันนี้เรามาลองวิเคราะห์ดูกันดีกว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจที่เคยรุ่งเรืองถึงขีดสุดกลับซบเซาลงอย่างไม่น่าเชื่อได้ในปีนี้

สาเหตุหลักใหญ่ ๆ เลยอย่างที่เรารู้กันดีจากข่าวใหญ่เมื่อกลางปี 2018 ที่มีผู้เสียชีวิตหลายราย จากการรับประทานอาหารเสริมลดน้ำหนักที่แอบใส่สารอันตราย จนสร้างผลกระทบและสร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักกันมากขึ้น เพราะรับรู้ถึงอันตรายของยาลดน้ำหนักที่ใส่สารอันตรายในวงกว้าง ส่งผลกระทบให้ธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักได้รับผลกระทบในเชิงลบเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นเป็นจริงแล้วข่าวด้านลบของยาลดน้ำหนักนั้นไม่ได้เพิ่งเกิดและมาสร้างผลกระทบแต่เฉพาะในปีนี้ แต่กลับมีมาโดยตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และค่อย ๆ ลดความเชื่อมั่นและความสนใจในการซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องโดยจะเห็นได้จากกราฟดังต่อไปนี้


(จำนวนคนค้นหาสินค้าลดน้ำหนักในปัจจุบันลดลงมาเกือบ 3 เท่าจากเมื่อต้นปี 2015)

จากตัวเลขข้างต้นบ่งบอกว่าความสนใจในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักและยาลดความอ้วนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา เมื่อต้นปี 2015 มีผู้สนใจค้นหาซื้อผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักใน Google มากกว่า 120,000 ครั้ง/ เดือน ถ้าเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2018 มีความสนใจค้นหาสินค้าลดน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 38,000 ครั้ง/เดือน เท่านั้น ลดลงมาคิดเป็นเกือบ 3 เท่าทีเดียว

 

ซึ่งถ้าจะให้ไล่ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ปลายปี 2014 จนมาถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ชัดว่า มีแต่ข่าวที่เกี่ยวกับ ยาลดความอ้วนอันตราย , ยาลดความอ้วนกินแล้วตาย หรือข่าวเชิงลบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ถูกเขียนจากสำนักข่าวใหญ่อยู่ปีละหลายหน และมักจะเป็นข่าวใหญ่ ถูกพาดหัวเสมอๆ ยกตัวอย่างข่าวใหญ่ อาทิเช่น

จุดจบยาลดน้ำหนัก?

  1. 22 เม.ษ. 2016 – อุทาหรณ์ “ยาระเบิดพุง” สาววัย 21 ช็อกดับคาที่นอน – https://www.sanook.com/news/1983714/
  2. 3 มิ.ย. 2016 – ‘ปคบ.-อย.’ บุกกวาดล้างยาลดอ้วน หลังสาวม.5กินแล้วตาย – http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/700963
  3. 16 ส.ค. 2017 – จับยาลดความอ้วนเถื่อนมูลค่ากว่า5ล.ผงะพบสารหลอนประสาท- http://www.komchadluek.net/news/crime/292099
  4. 30 เม.ย. 2018 เตือนยาลดอ้วน “ลีน” ทำคนตาย 4 ราย พิสูจน์ชัดเตรียมแจ้งข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนาอีกกระทง! – https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1025947

ข่าวอาหารเสริมลดน้ำหนัก ที่ผ่านมา

ทำให้ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมจำนวนความสนใจของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักถึงลดลงอย่างต่อเนื่องแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเช่นนี้

แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าความสนใจในตัวผลิตภัณฑ์จะลดลง แต่หากดูจำนวนและความนิยมในการค้นหาวิธีการลดน้ำหนัก , วิธีการไดเอท รวมไปถึงวิธีการออกกำลังเพื่อลดความอ้วน จะเห็นได้ชัดว่าจำนวนคนที่อยากจะลดความอ้วนนั้นไม่ได้น้อยลงกว่าแต่ก่อนซักเท่าไหร่ ทำให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ยังต้องการลดน้ำหนักอยู่ แต่ไม่อยากพึ่งผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักเหมือนแต่ก่อน


(ผู้ที่อยากลดความอ้วนยังค้นหาวิธีลดความอ้วน , วิธีออกกำลังกายไม่ต่างจากแต่ก่อน แต่จำนวนการค้นหาสินค้าลดลงอย่างเห็นได้ชัด)

ในเชิงธุรกิจอาจจะเห็นแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ที่จะไม่ใช่ยาลดความอ้วนแบบแต่ก่อน แต่อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่มาช่วยในเรื่องของการไดเอทหรือช่วยในการออกกำลังกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับในเชิงสุขภาพ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีกับสุขภาพและความปลอดภัยของคนไทยโดยรวม ที่ไม่ต้องเสี่ยงกับผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักที่แอบลักลอบใส่สารอันตราย
และล่าสุดเมือเดือนที่ผ่านมา มีการออกกฎหมายให้การมีไว้ครอบครอง และ มีไว้จำหน่ายสารไซบูธามีน มีโทษรุนแรงขึ้น

ออกกฎให้กานจำหน่ายไซบู ผิดกฎหมายร้ายแรง

“ผู้ใดผลิตนำเข้าหรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีไซบูทรามีนเป็นส่วนผสมจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสนบาท – 2 ล้านบาท ผู้ใดขายจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 4 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 4 แสนบาท – 2 ล้านบาท ผู้ใดครอบครองจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 -5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท – 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมไปถึงผู้ที่บริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นความผิดด้วย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2561 เป็นต้นไป

แน่นอนว่านี่คือจุดจบของธุรกิจยาลดความอ้วน “ที่แอบลักลอบใส่สารอันตราย” แต่นี่ก็อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักที่ปลอดภัย มีนวัตกรรมที่ได้ผลจริง และช่วยให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์มากกว่าที่เคย

สุดท้ายการลดน้ำหนักขึ้นอยู่กับการออกกำลังและการรับประทานอาหาร การที่ผู้บริโภคหันไปหาทางออกที่ไม่ใช่การมองหาผลลัพธ์ในระยะสั้นอย่างการรับประทานยาลดความอ้วน และหันไปหาผลลัพธ์ในระยะยาวอย่างการออกกำลังกาย ย่อมเป็นสิ่งดีกับผู้บริโภคเองอย่างแน่นอน